บริการประชาชน
บริการประชาชน
วันที่นำเข้าข้อมูล 11 พ.ย. 2565
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 10 เม.ย. 2568
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เป็นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานรับรองสิทธิทางกฎหมายระหว่างบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรม ทำให้บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น อาทิ มีสิทธิได้รับมรดก มีสิทธิใช้นามสกุลของบิดาหรือมารดาบุญธรรม
2. เอกสารประกอบในแต่ละกรณี
2.1 กรณีผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว
- ผู้ร้องต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
(1) คำร้องขอจดทะเบียนครอบครัว (Application for Family Registration)
(2) บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ร้อง (กรณีคนไทย)
(3) หนังสือเดินทางของผู้ร้อง (กรณีคนต่างชาติ) และสำเนา 1 ชุดที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทย และสำเนาอย่างละ 1 ชุด (หากต้นฉบับออกโดยหน่วยงานเยอรมันเป็นภาษาเยอรมัน ต้นฉบับต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้องก่อน และคำแปลภาษาไทยดังกล่าวต้องได้รับการแปลโดยนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง
(4) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้อง และผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
(5) หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (หนังสือรับรองโสด) ของผู้ร้อง (กรณีผู้ร้องไม่มีคู่สมรสและเป็นชาวต่างชาติ) ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และคำแปลภาษาไทย (กรณีต้นฉบับหนังสือดังกล่าวออกโดยหน่วยงานเยอรมันเป็นภาษาเยอรมัน คำแปลภาษาไทยดังกล่าวต้องได้รับการแปลโดยนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลเยอรมัน)
(6) กรณีผู้ร้องมีคู่สมรส ซึ่งต้องให้ความยินยอมด้วย
(6.1) บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของคู่สมรส (กรณีคนไทย
(6.2) หนังสือเดินทางของคู่สมรส (กรณีคนต่างชาติ)
(6.3) หลักฐานการสมรส ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
(7) กรณีผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ซึ่งต้องให้ความยินยอมด้วย
(7.1) บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของคู่สมรส (กรณีคนไทย
(7.2) หนังสือเดินทางของคู่สมรส (กรณีคนต่างชาติ)
(7.3) หลักฐานการสมรส ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
(8) พยาน 2 คน (ที่บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทย) พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีคนไทย) หรือหนังสือเดินทาง (กรณีคนต่างชาติ)
2.2 กรณีผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมยังเป็นผู้เยาว์
- ผู้ร้องต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
- บิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง ของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ต้องให้ความยินยอมด้วย
- กรณีผู้เยาว์ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุ 15 ปีขึ้นไป ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมต้องให้ความยินยอมด้วย
(1) คำร้องขอจดทะเบียนครอบครัว (Application for Family Registration)
(2) บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ร้อง (กรณีคนไทย)
(3) หนังสือเดินทางของผู้ร้อง (กรณีคนต่างชาติ) พร้อมสำเนา 1 ชุด ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (หากต้นฉบับออกโดยหน่วยงานเยอรมันเป็นภาษาเยอรมัน ต้นฉบับต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้องก่อน และคำแปลภาษาไทยดังกล่าวต้องได้รับการแปลโดยนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง)
(4) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้อง
(5) หนังสือแจ้งการอนุมัติของคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (หนังสืออนุญาตให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม) (มีอายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออกหนังสือ)
(6) กรณีผู้ร้องมีคู่สมรส ซึ่งต้องให้ความยินยอมด้วย
(6.1) บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของคู่สมรส (กรณีคนไทย
(6.2) หนังสือเดินทางของคู่สมรส (กรณีคนต่างชาติ)
(6.3) หลักฐานการสมรส ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
(7) พยาน 2 คน (ที่บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทย) พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีคนไทย) หรือหนังสือเดินทาง (กรณีคนต่างชาติ)
3. การนัดหมาย
กรณีที่ท่านประสงค์จะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทยที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
3.1 จัดส่งแบบคำขอจดทะเบียนครอบครัว ที่กรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว และเอกสารประกอบตามรายการในข้อ 2 มาทางอีเมล [email protected] เพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบก่อน ทั้งนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 030-7 94 81 112 (วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 14.00 - 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน) หรือทางอีเมล [email protected]
3.2 เมื่อเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งวันเวลานัดหมายทางอีเมลต่อไป ทั้งนี้ ในวันนัดหมาย กรุณานำเอกสารในข้อ 2 มาด้วย
4. ค่าธรรมเนียม
ไม่เสียค่าธรรมเนียม
วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุด) ระหว่างเวลา 09.00–13.00 น.
สอบถามรายละเอียดทางโทรศัพท์ ระหว่างเวลา 14.00- 17.00 น.
(โปรดตรวจสอบ เวลาให้บริการ ที่หน้า "ติดต่อเรา")