บริการประชาชน
บริการประชาชน
วันที่นำเข้าข้อมูล 11 พ.ย. 2565
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 10 เม.ย. 2568
การจดทะเบียนสมรส
การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
1. ข้อควรทราบ
การจดทะเบียนสมรสระหว่าง (1) บุคคลสัญชาติไทยหรือต่างชาติ กับ (2) บุคคลสัญชาติเยอรมัน ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไทยเท่านั้น ไม่มีผลตามกฎหมายเยอรมัน ดังนั้น กรณีที่ผู้ร้องประสงค์ให้การสมรสกับบุคคลสัญชาติเยอรมันมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเยอรมัน สามารถดำเนินการได้ 2 แนวทาง ได้แก่
หรือ
** ทะเบียนสมรสที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเยอรมันข้างต้นจะเป็นเอกสารสำคัญรายการหนึ่งที่ใช้ประกอบการทำธุรกรรมในประเทศเยอรมนี อาทิ การยื่นขอวีซ่าติดตามคู่สมรสชาวเยอรมัน และการขอมีถิ่นพำนักถาวรในประเทศเยอรมนี ** |
2. การนัดหมาย
กรณีที่ท่านประสงค์จะจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
2.1 จัดส่งแบบคำขอจดทะเบียนครอบครัว ที่กรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว และเอกสารประกอบตามรายการในข้อ 3 มาทางอีเมล [email protected] เพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบก่อน ทั้งนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 030-7 94 81 112 (วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 14.00 - 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน) หรือทางอีเมล [email protected]
2.2 เมื่อเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งวันเวลานัดหมายทางอีเมลต่อไป ทั้งนี้ ในวันนัดหมาย กรุณานำเอกสารในข้อ 3 มาด้วย
3. เอกสารประกอบ
3.1 คำร้องขอจดทะเบียนครอบครัว (Application for Family Registration) (คำร้องขอจดทะเบียนครอบครัว (คลิกที่นี่))
3.2 บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวอื่นที่ราชการออกให้ หรือเอกสารราชการอื่นที่สามารถใช้แสดงตัวบุคคลได้ของผู้ร้อง (กรณีคนไทย)
3.3 หนังสือเดินทาง ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือเอกสารราชการอื่นที่สามารถใช้แสดงตัวบุคคลได้ ของผู้ร้อง (กรณีคนต่างชาติ) และสำเนา 1 ชุด ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทย และสำเนาอย่างละ 1 ชุด (หากต้นฉบับออกโดยหน่วยงานเยอรมันเป็นภาษาเยอรมัน ต้นฉบับต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้องก่อน และคำแปลภาษาไทยดังกล่าวต้องได้รับการแปลโดยนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง)
3.4 หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (หนังสือรับรองความเป็นโสด) (เฉพาะกรณีที่คู่สมรสเป็นคนต่างชาติ) ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วและมีอายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออกเอกสาร และคำแปลภาษาไทย (กรณีต้นฉบับหนังสือดังกล่าวออกโดยหน่วยงานเยอรมันเป็นภาษาเยอรมัน คำแปลภาษาไทยดังกล่าวต้องได้รับการแปลโดยนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง)
3.5 สำเนาทะเบียนบ้านของทั้งสองฝ่าย
3.6 หนังสือยินยอม (กรณีผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้)
3.7 พยาน 2 คน (ที่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทยแล้ว) พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีคนไทย) หรือหนังสือเดินทาง (กรณีคนต่างชาติ)
4. ค่าธรรมเนียม
ไม่เสียค่าธรรมเนียม
5. การดำเนินการภายหลังการสมรส
5.1 ภายหลังการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย
ภายหลังการจดทะเบียนสมรส ณ สถานเอกอัครราชทูตฯ คู่สมรสจะได้รับใบสำคัญการสมรสจากสถานเอกอัครราชทูตฯ คนละ 1 ฉบับ ทั้งนี้ หากท่านประสงค์จะคัดสำเนาใบสำคัญการสมรสดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการรับรองสำเนาถูกต้องโดยมีค่าธรรมเนียม 15 ยูโร/ฉบับ
5.2 ภายหลังการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเยอรมัน
(1) นำต้นฉบับทะเบียนสมรสเยอรมันไปรับรองที่หน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้อง (โปรดดูหัวข้อ "รับรองเอกสาร")
(2) แปลทะเบียนสมรสเยอรมันเป็นภาษาไทยโดยนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง
(3) ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอรับรองต้นฉบับทะเบียนสมรสเยอรมันและคำแปลภาษาไทย (โปรดดูหัวข้อ "รับรองเอกสาร)
(4) นำต้นฉบับทะเบียนสมรสเยอรมันพร้อมคำแปลภาษาไทยที่ผ่านการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตฯ แล้ว ไปรับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล หรือสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สาขาที่ให้บริการนิติกรณ์เอกสาร
(5) นำเอกสารในข้อ 5.2 (4) พร้อมเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการขอบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22) กรณีสมรส ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ประเทศไทย
(6) ในกรณีที่ท่านไม่สามารถเดินทางไปประเทศไทยเพื่อดำเนินการในข้อ 5.1 (4) และ 5.1 (5) ได้ ท่านสามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอออก "หนังสือมอบอำนาจ" เพื่อมอบอำนาจให้บุคคลที่ประเทศไทยไปดำเนินการแทนได้ (โปรดดูหัวข้อ "หนังสือมอบอำนาจ")
วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุด) ระหว่างเวลา 09.00–13.00 น.
สอบถามรายละเอียดทางโทรศัพท์ ระหว่างเวลา 14.00- 17.00 น.
(โปรดตรวจสอบ เวลาให้บริการ ที่หน้า "ติดต่อเรา")