วันที่นำเข้าข้อมูล 14 พ.ย. 2565
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 20 ธ.ค. 2566
| 3,377 view
หนังสือรับรองสถานภาพสมรส
สามารถติดต่อขอนัดหมายออกหนังสือรับรองสถานภาพสมรสได้ที่
โทร. 030-7 94 81 112 (วันจันทร์ - วันศุกร์ เฉพาะช่วงเวลา 14.00 - 17.00 น.)
e-mail : [email protected]
หากท่านมีหนังสือรับรองสถานภาพสมรสจากสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอไทยมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนังสือรับรองโสดไม่เคยแต่งงานมาก่อน หรือ หนังสือรับรองโสดหลังการหย่า หรือ หนังสือรับรองโสดหลังคู่สมรสเสียชีวิต และยังมีอายุนับตั้งแต่วันออกไม่เกิน 6 เดือน ท่านสามารถมายื่นคำร้องขอใบรับรองสถานภาพสมรสจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้
ท่านต้องมายื่นคำร้องด้วยตัวเอง พร้อมเอกสารประกอบต่อไปนี้ โดยเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในสำเนาทุกฉบับ (หากเป็นไปได้ให้นำเอกสารต้นฉบับมาด้วย ยกเว้นบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสจากประเทศไทย ต้องนำต้นฉบับมาด้วย)
- ต้นฉบับบัตรประจำตัวประชาชน
- ต้นฉบับหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสจากประเทศไทย 1 ชุด (รับรองว่าเป็นโสด ไม่เคยแต่งงานมาก่อน หรือ หลังหย่าไม่ได้แต่งงานอีกเลย หรือ หลังคู่สมรสเสียชีวิตไม่ได้แต่งงานอีกเลย) ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ชุด (ถ่ายสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย และหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและนามสกุล)
- สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ชุด (หากทะเบียนบ้านไทยแปลเป็นภาษาเยอรมันแล้ว ให้ยื่นสำเนาคำแปลภาษาเยอรมันด้วย)
- สำเนาสูติบัตร หรือ สำเนาหนังสือรับรองการเกิด 1 ชุด
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ และ ใบเปลี่ยนนามสกุล 1 ชุด (ถ้ามี)
- สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมัน (Meldebestätigung) หรือ สำเนาหนังสือเชิญตัว 1 ชุด
- สำเนาสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่หมั้น 1 ชุด
- สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมัน (Meldebestätigung) ของคู่หมั้น 1 ชุด
เอกสารเพิ่มเติม
กรณีที่เคยหย่าร้าง
- ต้นฉบับหนังสือสำคัญการหย่า หรือ คำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้ว (ทะเบียนหย่าเยอรมันที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) ในเยอรมนี จะต้องผ่านการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ศาลผู้ออกทะเบียนหย่าจากศาล แห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน แล้วจึงนำไปแปลไปเป็นภาษาไทยกับล่ามที่ได้รับอนุญาตให้แปลเอกสารได้ต่อไป
- หากเป็นหญิง ต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์ ถ้าหย่ายังไม่ครบ 310 วัน นับตั้งแต่วันที่การหย่ามีผลบังคับใช้
กรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต
- มรณบัตรคู่สมรสที่เสียชีวิต
- ทะเบียนสมรส
- หากเป็นหญิง ต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์ ถ้าคู่สมสรสเสียชีวิตไม่เกิน 310 วัน
กรณีอายุยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์
- หนังสือยินยอมให้สมรสได้จากบิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ที่ขอมาจากอำเภอ
ข้อแนะนำอื่น ๆ ที่ควรทราบ
- ถ้าหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด) จากอำเภอมีอายุมากกว่า 6 เดือน สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถออกหนังสือรับรองสถานภาพสมรสของสถานเอกอัครราชทูตฯ ให้ได้
- ทะเบียนหย่าเยอรมันที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) ในเยอรมนี จะต้องผ่านการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ศาลผู้ออกทะเบียนหย่าจากศาลแห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน แล้วจึงนำไปแปลไปเป็นภาษาไทยกับล่ามที่ได้รับอนุญาตให้แปลเอกสารได้ต่อไป
- เจ้าของเรื่องต้องมายื่นคำร้องด้วยตัวเอง ให้คนอื่นมายื่นแทนไม่ได้ และต้องมารับเอกสารด้วยตัวเอง เพราะต้องมาเซ็นชื่อในหนังสือรับรองสถานภาพสมรสของสถานเอกอัครราชทูตฯ ต่อหน้าเจ้าพนักงาน
- สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถรับคำร้องขอหนังสือรับรองสมรสของสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่มายื่นโดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเรื่อง
- ก่อนแต่งงาน ผู้ยื่นคำร้องควรทราบรายละเอียดการใช้นามสกุลตามกฎหมายไทย โดยดูข้อมูลที่ พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548″