วันที่นำเข้าข้อมูล 11 พ.ย. 2565
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 10 เม.ย. 2568
| 3,844 view
การขอมรณบัตร
1. ข้อควรทราบ
ข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง การจดทะเบียนคนเกิดและคนตายที่มีขึ้นนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2562 ระบุว่า ผู้ขอจดทะเบียนคนตายนอกราชอาณาจักรต้องเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) บิดาหรือมารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของคนตาย
(2) คู่สมรสของคนตาย
(3) ผู้สืบสันดานของคนตาย
(4) บุคคลอื่นที่กระทรวงการต่างประเทศประกาศกำหนด
(5) ผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลตาม (1), (2), หรือ (3)
2. การนัดหมาย
2.1 จัดส่งแบบคำขอจดทะเบียนคนตาย ที่กรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว และเอกสารประกอบตามรายการในข้อ 3 มาทางอีเมล
[email protected] เพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบก่อน ทั้งนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 030-7 94 81 112 (วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา
14.00 - 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน) หรือทางอีเมล
[email protected] นอกจากนี้
หากท่านประสงค์จะนำอัฐิของผู้ตายไปประกอบพิธีทางศาสนาที่ประเทศไทย กรุณาระบุมาในอีเมลด้วย 2.2 เมื่อเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งวันเวลานัดหมายทางอีเมลต่อไป ทั้งนี้ ในวันนัดหมาย กรุณานำเอกสารในข้อ 3 มาด้วย
3. เอกสารประกอบ
3.1 ต้นฉบับแบบคำขอจดทะเบียนคนตาย (กรุณากรอกข้อมูลให้มากที่สุด
เท่าที่ทราบ เช่น สถานที่พำนักก่อนเสียชีวิต อาชีพของผู้เสียชีวิต วิธีจัดการศพ (อาทิ เผา หรือฝัง) สถานที่ฌาปนกิจศพ สถานที่เสียชีวิต ระยะเวลาที่พำนักในสถานที่ที่เสียชีวิต ฯลฯ )
(โปรดคลิกเพื่อดาวน์โหลด) 3.2 ต้นฉบับมรณบัตรเยอรมัน
ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้องแล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทย
ซึ่งแปลโดยนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง และ
สำเนาอย่างละ 1 ชุด
3.3 ต้นฉบับบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ขอจดทะเบียนคนตาย (กรณีคนไทย)
3.4 ต้นฉบับหนังสือเดินทางของผู้ขอจดทะเบียนคนตาย (กรณีคนต่างชาติ)
3.5 หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ยื่นคำขอกับผู้เสียชีวิต อาทิ ทะเบียนสมรส หรือสูติบัตร
3.6 ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ขอจดทะเบียนคนตายเป็นผู้รับมอบอำนาจ)
3.7 หลักฐานแสดงตนของคนตาย หรือสำเนา อาทิ บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (
หากมี)
4. ค่าธรรมเนียม
ไม่เสียค่าธรรมเนียม