วันที่นำเข้าข้อมูล 17 เม.ย. 2568
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 17 เม.ย. 2568
| 69 view
การรับรองเอกสาร/การนิติกรณ์เอกสาร
การรับรองเอกสารหรือการนิติกรณ์เอกสาร (Legalization) คือการยืนยันอย่างเป็นทางการว่าเอกสารนั้นออกโดยผู้มีอำนาจหน้าที่ (authorized person) เพื่อให้เอกสารเป็นที่ยอมรับและมีผลบังคับตามกฎหมาย
A. ประเภทของการรับรองเอกสาร |
- การรับรองเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานไทย พร้อมคำแปลภาษาเยอรมัน (หากมี) เช่น ใบสำคัญการสมรส มรณบัตร สูติบัตร ฯลฯ ทั้งนี้ ต้นฉบับเอกสารดังกล่าวต้องได้รับการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล หรือสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว (สาขาที่มีบริการนิติกรณ์เอกสาร) ที่ประเทศไทยก่อน จึงจะนำมารับรองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก (โปรดดูข้อ B. 1.)
- การรับรองเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานเยอรมันพร้อมคำแปลภาษาไทย (หากมี) เช่น ใบสำคัญการสมรส มรณบัตร สูติบัตร ฯลฯ ทั้งนี้ ต้นฉบับเอกสารดังกล่าวต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้องก่อน (โปรดดูข้อ B. 2.)
- การรับรองสำเนาถูกต้องเฉพาะเอกสารที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน อาทิ สูติบัตรไทย (กรณีที่ได้จดทะเบียนคนเกิดที่สถานเอกอัครราชทูตฯ) หรือมรณบัตรไทย (กรณีที่ได้จดทะเบียนคนตายที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
- การรับรองลายมือชื่ออื่น ๆ อาทิ
4.1 หนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney): เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จะรับรองลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจสัญชาติไทยที่มาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สถานเอกอัครราชทูตฯ ทั้งนี้ สำหรับผู้มอบอำนาจที่มีสัญชาติเยอรมัน จะต้องติดต่อสำนักงานทนายความในเยอรมนี (notary public) เพื่อขอออกหนังสือมอบอำนาจ และนำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไปรับรองที่ศาลเยอรมันที่เกี่ยวข้อง (สำนักงานทนายความดังกล่าวจะแนะนำว่าควรนำหนังสือมอบอำนาจไปรับรองที่ศาลเยอรมันแห่งใด) หลังจากนั้น จึงนำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาขอรับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
4.2 หนังสือรับรอง (Letter of Confirmation) ของกรมที่ดิน สำหรับกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งยืนยันว่า เงินที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนำมาซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด เป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
4.3 หนังสือยินยอม (Letter of Consent) กรณีบิดา/มารดา/ผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้บุตรผู้เยาว์ทำหนังสือเดินทาง
4.4 หนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney) กรณีบิดา/มารดา/ผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายมอบอำนาจให้บุคคลอื่นพาบุตรผู้เยาว์ที่อายุต่ำกว่า 15 ปี
ไปทำหนังสือเดินทาง
4.5 หนังสือรับรองแสดงการมีชีวิตอยู่ของผู้รับเงินบำนาญชราภาพ (Form of Life Certificate for Pensioner)
- การรับรองเอกสารการค้าเยอรมัน (Free-Sale-Dokumenten)
5.1 ต้นฉบับเอกสารทางการค้าเยอรมัน ทั้งที่เป็นภาษาเยอรมันหรือภาษาอังกฤษ ต้องนำไปรับรองที่สำนักงานทนายความในเยอรมนี (notary public) และจึงนำไปรับรอง
ที่ศาลเยอรมันที่เกี่ยวข้อง (โปรดสอบถาม notary public ว่าต้องนำเอกสารไปรับรองที่ศาลแห่งใด) หลังจากนั้น นำต้นฉบับมารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
5.2 กรณีที่ยื่นขอรับรองคำแปลภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเอกสารที่แยกต่างหากจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน
(1) คำแปลภาษาอังกฤษดังกล่าวต้องแปลโดยนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง
(2) นำต้นฉบับที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้องในข้อ 5.1 พร้อมกับต้นฉบับคำแปลภาษาอังกฤษ มารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
5.3 กรณีที่ยื่นขอรับรองคำแปลภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกสารที่แยกต่างจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน
(1) คำแปลภาษาไทยดังกล่าวต้องแปลโดยนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง
(2) นำต้นฉบับที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้องในข้อ 5.1 พร้อมกับต้นฉบับคำแปลภาษาไทย มารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
B. กระบวนการรับรองเอกสารที่ออกโดยหน่วยราชการ จำแนกตามหน่วยงานที่ออกต้นฉบับเอกสาร และภาษาของต้นฉบับ ดังนี้ |
- ต้นฉบับที่ออกโดยหน่วยงานไทย เช่น ใบสำคัญการสมรส สูติบัตร มรณบัตร คำพิพากษาของศาลไทย ฯลฯ
1.1 สำหรับต้นฉบับที่ออกโดยหน่วยงานไทยเป็นภาษาไทย มีขั้นตอนดังนี้
1.1.2 กรณีที่จะนำต้นฉบับไปใช้ในประเทศเยอรมนี
(1) นำต้นฉบับไปรับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล หรือสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว (สาขาที่ให้บริการนิติกรณ์เอกสาร) ที่ประเทศไทย
(2) แปลต้นฉบับที่ผ่านการรับรองในข้อ 1.1.2 (1) เป็นภาษาเยอรมันโดยนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง หลังจากนั้น
- นำต้นฉบับที่ผ่านการรับรองในข้อ 1.1.2 (1) และคำแปลภาษาเยอรมัน ไปรับรองที่สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย หรือสถานกงสุลใหญ่
เยอรมนีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
หรือ
- นำต้นฉบับที่ผ่านการรับรองในข้อ 1.1.2 (1) และคำแปลภาษาเยอรมัน ไปรับรองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือสถานกงสุลใหญ่
ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
1.1.3 กรณีที่จะนำต้นฉบับภาษาไทยไปใช้ในประเทศอื่นที่มิใช่ประเทศเยอรมนี โปรดตรวจสอบกระบวนการรับรองเอกสารที่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานที่จะรับเอกสาร
ในประเทศปลายทางก่อน อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปมีขั้นตอน ดังนี้
(1) แปลต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ โดยผู้แปลลงชื่อรับรองว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้อง
(2) นำต้นฉบับและคำแปลภาษาอังกฤษไปรับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล หรือสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สาขาที่ให้บริการนิติกรณ์เอกสาร
(3) นำต้นฉบับและคำแปลภาษาอังกฤษ ที่ผ่านการรับรองในข้อ 1.1.3 (2) ไปรับรองที่
- สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศที่จะนำเอกสารไปใช้ หลังจากนั้น นำต้นฉบับที่เย็บติดกับคำแปลภาษาอังกฤษ
ไปแปลเป็นภาษาท้องถิ่น (เฉพาะกรณีที่หน่วยงานปลายทางกำหนดให้ต้องแปลเป็นภาษาท้องถิ่นด้วย) ต่อมา นำต้นฉบับที่เย็บติดกับคำแปลภาษาอังกฤษ
และคำแปลภาษาท้องถิ่น ไปรับรองที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ตั้งอยู่ในประเทศปลายทางที่จะนำเอกสารไปใช้
หรือ
- สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของประเทศที่จะนำเอกสารไปใช้ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย หลังจากนั้น นำต้นฉบับและคำแปลภาษาอังกฤษ
ไปรับรองที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ตั้งอยู่ในประเทศปลายทางที่จะนำเอกสารไปใช้
1.2 สำหรับต้นฉบับที่ออกโดยหน่วยงานไทยเป็นภาษาอังกฤษ มีขั้นตอนดังนี้

1.2.1 นำต้นฉบับไปรับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล หรือสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว (สาขาที่ให้บริการนิติกรณ์เอกสาร) ที่ประเทศไทย
1.2.2 กรณีที่จะนำต้นฉบับไปใช้ในประเทศเยอรมนี
(1) แปลต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมันโดยนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลเยอรมันก่อน (โปรดตรวจสอบรายชื่อนักแปลในเว็บไซต์ https://www.justiz-
dolmetscher.de/Recherche/en/Suchen/)
(2) นำต้นฉบับที่ผ่านการรับรองในข้อ 1.2.1 และคำแปลภาษาเยอรมัน ไปรับรองที่
- สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย หรือสถานกงสุลใหญ่เยอรมนีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
หรือ
- สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
1.2.3 กรณีที่จะนำต้นฉบับไปใช้ในประเทศอื่นที่มิใช่ประเทศเยอรมนี โปรดตรวจสอบกระบวนการรับรองเอกสารที่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานที่จะรับเอกสารในประเทศปลาย
ทางก่อน อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปมีขั้นตอน ดังนี้
(1) นำต้นฉบับที่ผ่านการรับรองในข้อ 1.2.1 ไปรับรองที่
- สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยที่ตั้งอยู่ในประเทศที่จะนำเอกสารไปใช้ หลังจากนั้น นำต้นฉบับพร้อมคำแปลภาษาท้องถิ่น (เฉพาะกรณี
ที่หน่วยงานปลายทางกำหนดให้ต้องแปลเป็นภาษาท้องถิ่นด้วย) ไปรับรองที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ตั้งอยู่ในประเทศปลายทางที่จะนำเอกสารไปใช้
หรือ
- สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของประเทศที่จะนำเอกสารไปใช้ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย หลังจากนั้น นำต้นฉบับพร้อมคำแปลภาษาท้องถิ่น
(เฉพาะกรณีที่หน่วยงานปลายทางกำหนดให้ต้องแปลเป็นภาษาท้องถิ่นด้วย) ไปรับรองที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ตั้งอยู่ในประเทศปลายทาง
ที่จะนำเอกสารไปใช้
- ต้นฉบับเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานเยอรมัน เช่น ใบสำคัญการสมรส สูติบัตร มรณบัตร คำพิพากษาของศาลเยอรมัน ฯลฯ
2.1 สำหรับต้นฉบับที่ออกโดยหน่วยงานเยอรมันเป็นภาษาเยอรมัน มีขั้นตอนดังนี้
2.1.1 นำต้นฉบับไปรับรองที่หน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) กรณีที่ต้นฉบับเป็นเอกสารทางทะเบียน เช่น ใบสำคัญการสมรส สูติบัตร มรณบัตร ฯลฯ นำต้นฉบับไปรับรองที่หน่วยงานเยอรมันที่มีหน้าที่รับรองเอกสาร
สำหรับการนำไปใช้นอกประเทศเยอรมนี (โปรดสอบถามหน่วยงานที่ออกต้นฉบับเอกสารว่าต้องนำเอกสารไปรับรองที่หน่วยงานใด)
(2) กรณีที่ต้นฉบับเป็นเอกสารประเภทอื่น เช่น คำพิพากษาของศาล คำสั่งเรื่องสิทธิปกครองบุตร ฯลฯ นำต้นฉบับไปรับรองที่ศาลเยอรมันที่มีหน้าที่
รับรองเอกสารสำหรับการนำไปใช้นอกประเทศเยอรมนี (โปรดสอบถามหน่วยงานที่ออกต้นฉบับเอกสารว่าต้องนำเอกสารไปรับรอง
ที่หน่วยงานใด)
2.1.2 กรณีที่ต้องการนำต้นฉบับภาษาเยอรมันไปใช้กับหน่วยงานราชการไทย เช่น สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ ฯลฯ
(1) แปลต้นฉบับที่ผ่านการรับรองในข้อ 2.1.1 เป็นภาษาไทยโดยนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง
(2) นำต้นฉบับที่ผ่านการรับรองในข้อ 2.1.1 พร้อมคำแปลภาษาไทย ไปรับรองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ
นครแฟรงก์เฟิร์ต หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
(3) นำต้นฉบับและคำแปลภาษาไทยที่ผ่านการรับรองในข้อ 2.1.2 (2) ไปรับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล หรือสำนักงานหนังสือ
เดินทางชั่วคราว (สาขาที่ให้บริการนิติกรณ์เอกสาร) ที่ประเทศไทย
2.2 สำหรับต้นฉบับที่ออกโดยหน่วยงานเยอรมันเป็นภาษาอังกฤษ มีขั้นตอนดังนี้
2.2.1 นำต้นฉบับไปรับรองที่หน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้องก่อน
(1) กรณีที่ต้นฉบับเป็นเอกสารทางทะเบียน เช่น ใบสำคัญการสมรส สูติบัตร มรณบัตร ฯลฯ นำต้นฉบับไปรับรองที่หน่วยงานเยอรมันที่มีหน้าที่รับรอง
เอกสารสำหรับการนำไปใช้นอกประเทศเยอรมนี (โปรดสอบถามหน่วยงานที่ออกต้นฉบับเอกสารว่าต้องนำเอกสารไปรับรองที่หน่วยงานใด)
(2) กรณีที่ต้นฉบับเป็นเอกสารประเภทอื่น เช่น คำพิพากษาของศาล คำสั่งเรื่องสิทธิปกครองบุตร ฯลฯ นำต้นฉบับไปรับรองที่ศาลเยอรมันที่มีหน้าที่
รับรองเอกสารสำหรับการนำไปใช้นอกประเทศเยอรมนี (โปรดสอบถามหน่วยงานที่ออกต้นฉบับเอกสารว่าต้องนำเอกสารไปรับรองที่หน่วยงานใด)
2.2.2 กรณีที่ต้องการนำต้นฉบับไปใช้กับหน่วยงานไทย เช่น สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ ฯลฯ
(1) แปลต้นฉบับที่ผ่านการรับรองในข้อ 2.2.1 เป็นภาษาไทย โดยผู้แปลลงชื่อรับรองว่าเป็นคำแปลที่ถูกต้อง
(2) นำต้นฉบับที่ผ่านการรับรองในข้อ 2.2.1 พร้อมคำแปลภาษาไทย ไปรับรองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ
นครแฟรงก์เฟิร์ต หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
(3) นำต้นฉบับและคำแปลภาษาไทยที่ผ่านการรับรองในข้อ 2.2.2 (2) ไปรับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล หรือสำนักงานหนังสือ
เดินทางชั่วคราว (สาขาที่ให้บริการนิติกรณ์เอกสาร) ที่ประเทศไทย
C. การยื่นคำร้องขอรับรองเอกสารที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน |
- วิธีการยื่นคำร้อง
1.1 ยื่นคำร้องด้วยตนเอง
(1) ส่งอีเมลถึง [email protected] โดยแจ้งชื่อ นามสกุล และเบอร์โทรศัพท์ พร้อมแนบไฟล์เอกสารตามข้อ C. 1.2.1 หรือ C. 1.2.2 และ/หรือ
ระบุประเภทเอกสารที่ประสงค์ขอรับบริการ (โปรดดูประเภทเอกสารในข้อ A. 1 – A. 5) ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 030-7 94 81 112
ในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.00 – 17.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการของสถานเอกอัครราชทูตฯ)
(2) เมื่อเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งวันเวลานัดหมายทางอีเมลต่อไป
(3) ในวันนัดหมาย กรุณานำเอกสารในข้อ C. 1.2.1 หรือ C. 1.2.2 มาด้วย ทั้งนี้ หากมีการรับรองคำแปลด้วย จะใช้เวลาดำเนินการ 5 วันทำการ (ไม่นับวันหยุดราชการ
ของสถานเอกอัครราชทูตฯ) จึงจะรับเอกสารคืนด้วยตนเอง แต่ถ้าท่านประสงค์ให้ส่งคืนเอกสารทางไปรษณีย์ กรุณานำซองไปรษณีย์เปล่าที่จ่าหน้าซองถึงผู้ยื่นคำร้อง
หรือเจ้าของเอกสารหรือผู้รับมอบอำนาจ และติดแสตมป์ 4.15 ยูโร หรือตามน้ำหนักของเอกสารที่เพียงพอต่อการส่งกลับ มาด้วย
1.2 ยื่นคำร้องทางไปรษณีย์: สามารถยื่นขอรับรองเอกสารทางไปรษณีย์ได้เฉพาะประเภทเอกสารใน
ข้อ A. 1, A. 2, A. 3, A. 5 และหนังสือมอบอำนาจที่มีผู้มอบอำนาจ
เป็นชาวต่างชาติที่ผ่านการรับรองจากศาลเยอรมันแล้ว เท่านั้น โดย
จัดส่งเอกสารตามข้อ C. 1.2.1 หรือ C. 1.2.2 มาที่
Königlich Thailändische Botschaft
Lepsiusstrasse 64/66, 12163 Berlin
1.2.1 กรณีขอรับรองเอกสารทางการเยอรมัน หรือเอกสารทางการไทย
(1) ต้นฉบับคำร้องขอนิติกรณ์ (ต้องลงนามโดยเจ้าของเอกสาร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสาร หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของเอกสาร
พร้อมแนบต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
(2) ต้นฉบับเอกสารที่ขอรับการรับรอง พร้อมคำเแปล (หากมี) พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
(3) สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ยื่นคำร้องที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
(4) ซองไปรษณีย์เปล่าที่จ่าหน้าซองถึงผู้ยื่นคำร้องหรือเจ้าของเอกสารหรือผู้รับมอบอำนาจ และติดแสตมป์ 4.15 ยูโร หรือตามน้ำหนักของเอกสาร
ที่เพียงพอต่อการส่งกลับ
(5) หลักฐานการโอนเงินค่าธรรมเนียม (15 ยูโร ต่อ 1 ตราประทับ เช่น ค่าธรรมเนียมการรับรองต้นฉบับสูติบัตรเยอรมันพร้อมคำแปลภาษาไทย
รวมทั้งสิ้น 30 ยูโร)
ชื่อบัญชี: Royal Thai Embassy
IBAN: DE67 1007 0000 0419 2050 00
BIC Code: DEUTDEBBXXX
ธนาคาร Deutsche Bank
1.2.2 กรณีขอรับรองเอกสารทางการค้าเยอรมัน
(1) ต้นฉบับคำร้องขอนิติกรณ์ (ต้องลงนามโดยเจ้าของเอกสาร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสาร หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของเอกสาร
พร้อมแนบต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
(2) ต้นฉบับเอกสารที่ขอรับการรับรอง พร้อมคำแปล (หากมี) พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
(3) ต้นฉบับหนังสือจากบริษัท
(4) สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ยื่นคำร้องที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
(5) ซองไปรษณีย์เปล่าที่จ่าหน้าซองถึงผู้ยื่นคำร้องหรือเจ้าของเอกสารหรือผู้รับมอบอำนาจ และติดแสตมป์ 4.15 ยูโร หรือตามน้ำหนักของเอกสาร
ที่เพียงพอต่อการส่งกลับ
(6) หลักฐานการโอนเงินค่าธรรมเนียม (15 ยูโร ต่อ 1 ตราประทับ เช่น ค่าธรรมเนียมการรับรองต้นฉบับเอกสารทางการค้าภาษาเยอรมันพร้อมคำแปลภาษาไทย
รวมทั้งสิ้น 30 ยูโร)
ชื่อบัญชี: Royal Thai Embassy
IBAN: DE67 1007 0000 0419 2050 00
BIC Code: DEUTDEBBXXX
ธนาคาร Deutsche Bank
- ค่าธรรมเนียม
2.1 ค่าธรรมเนียมการรับรองเอกสาร 15 ยูโร ต่อ 1 ตราประทับ เช่น ค่าธรรมเนียมการรับรองต้นฉบับสูติบัตรเยอรมันพร้อมคำแปลภาษาไทย รวมทั้งสิ้น 30 ยูโร
2.2 กรณียื่นคำร้องทางไปรษณีย์ กรุณาโอนเงินไปที่บัญชีธนาคาร (สำหรับการโอนเงินชำระค่าธรรมเนียมการรับรองเอกสารเท่านั้น)
ชื่อบัญชี: Royal Thai Embassy
IBAN: DE67 1007 0000 0419 2050 00
BIC Code: DEUTDEBBXXX
ธนาคาร Deutsche Bank
* กรุณางดส่งค่าธรรมเนียมเป็นเงินสดมาทางไปรษณีย์ *
- ระยะเวลาดำเนินการ
3.1 กรณียื่นคำร้องด้วยตนเอง: รับเอกสารคืนในวันเดียวกับวันที่นัดหมาย ยกเว้นมีการรับรองคำแปลด้วย จะใช้เวลา 5 วันทำการ (ไม่นับวันหยุดราชการของสถาน
เอกอัครราชทูตฯ) เช่น ยื่นคำร้องในวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2568 จะรับเอกสารคืนได้ในวันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2568 หรือจัดส่งคืนทางไปรษณีย์
3.2 กรณียื่นคำร้องทางไปรษณีย์: ประมาณ 2 สัปดาห์ นับจากวันที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง ยกเว้นมีการรับรองคำแปลด้วย
จะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
* * * * *
วันที่ 16 เมษายน 2568